สหรัฐฯ กำลังแพ้สงครามเทคโนโลยี ? ดันนโยบายพลิกโลก เมื่อจีนล้ำหน้ากว่าแล้ว

เมื่อจีนกำลังนำโลกเรื่องเทคโนโลยี ทำให้สหรัฐฯ ตกเป็นผู้ตาม ในสงครามเย็น ศึกด้านเทคโนโลยี จนต้องยอมออกนโยบายพลิกโลก กีดกันการค้า งดขายของไฮเทคให้จีน แปลว่าสหรัฐฯ กำลังจะแพ้อย่างงั้นหรือ ?

ฐานเศรษฐกิจ อ้างอิงรายงานจากสำนักข่าวรอยเตอร์ของสหรัฐฯ ระบุว่า จีนกำลังก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้านการวิจัยและคิดค้น “เทคโนโลยีขั้นสูง” ที่สร้างผลกระทบต่อโลก ขณะที่ชาติตะวันตก กำลังสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านการป้องกันประเทศ อวกาศ พลังงาน และ เทคโนโลยีชีวภาพ

เทคโนโลยี

สหรัฐฯ ตัดขาตัวเอง เลิกใช้แรงงานค่าแรงถูก หวังเพิ่มอำนาจ

2 มหาอำนาจยักษ์ใหญ่ จีน-สหรัฐ เปิดสงคราม “Tech Trade War” (สงครามการค้าด้านเทคโนโลยี) กันมาพักใหญ่ นอกจากการตั้งกำแพงภาษีการค้าใส่กันไม่หยุดยั้ง ยังหันมาดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบ “Deglobalization” หรือทวนกระแสโลกาภิวัฒน์ คือ สหรัฐฯ หยุดการลดต้นทุนจากแรงงานค่าแรงต่ำ ในการผลิตชิปที่ต่างประเทศ กลับมาใช้แรงงานค่าแรงสูงในประเทศแทน

“ทุนหนา” งานวิจัยไฮเทคเกิด

งบประมาณกลายเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อการแข่งขันของทั้ง 2 ประเทศ ที่ตั้งเป้าว่าจะเป็น “มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก” นั้น ต่างต้องทุ่มทุนลงงบประมาณ “คิดค้นเทคโนโลยีขั้นสูง และผลิตผลงานวิจัย”

เป็นที่น่าสนใจว่า สถาบันนโยบายยุทธศาสตร์ออสเตรเลีย (The Australian Strategic Policy Institute: ASPI) เปิดเผยผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า จีนผลิตผลงานวิจัย 37 ชิ้น จาก 44 ชิ้นที่ใช้เทคโลยีขั้นสูงและสร้างผลกระทบต่อโลก ขณะที่ชาติตะวันตกกำลังสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะผลงานวิจัยสำคัญๆ ทั้งด้านการป้องกันประเทศ อวกาศ พลังงาน และ เทคโนโลยีชีวภาพ

“ชาติตะวันตก กำลังสูญเสียการแข่งขันทางเทคโนโลยีระดับโลก รวมถึงการแข่งขันเพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และการวิจัย” รายงานของ ASPI ระบุ พร้อมกระตุ้นให้รัฐบาลลงทุนด้านการวิจัยมากขึ้น

จีนชนะเพราะรัฐบาลคุมเอง กลายเป็นดาบสองคม

สาเหตุหลักที่จีนผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำ คือ จำนวน “การผลิตผลงานวิจัยอันน่าทึ่ง” เป็นเพราะสถาบันวิจัยของจีน “อยู่ภายใต้โครงการของรัฐบาล”

รายงานของ ASPI เรียกร้องให้ชาติตะวันตก ร่วมมือกันมากขึ้นเพื่อ “พัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญเชิงกลยุทธ์อย่างเร่งด่วน”

ASPI ติดตามเอกสารทางวิทยาศาสตร์ที่มีแนวโน้มสูงที่จะมีการจดสิทธิบัตร งานวิจัยและเทคโนโลยีใหม่ ๆ พบว่าในปี 2564 จีนได้คิดค้นขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง (Hypersonic missiles)

“ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา 48.49% ของเอกสารการวิจัยที่มีผลกระทบสูงของโลกมาจากจีน ทั้งในด้านเครื่องยนต์อากาศยานขั้นสูง รวมถึงระบบไฮเปอร์โซนิก”

นอกจากนี้มีข้อมูลว่า จีน ติดอันดับสถาบันวิจัยชั้นนำของโลก 7 แห่ง จากทั้งหมด 10 แห่ง แต่อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลเป็นเจ้าของโครงการและงานวิจัยส่วนใหญ่ อาจใช้ไม่ได้ผลกับทุกประเทศ

ชาติตะวันตกอย่าง สหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ต้องเร่งปรับตัว

ผลงานวิจัยด้านเซ็นเซอร์โฟโตนิก (Photonic sensors) และการสื่อสารควอนตัม (Quantum communication) ที่แข็งแกร่งของจีน อาจนำไปสู่ “ยุคมืด” ของชาติตะวันตกกลุ่ม “Five Eyes” ได้แก่ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา และนิวซีแลนด์

จีนมีแนวโน้มจะผงาดขึ้นมาเป็นผู้ผูกขาดเทคโนโลยี 10 สาขา ซึ่งรวมถึงชีววิทยาสังเคราะห์ (Synthetic biology)โดยจีนผลิตงานวิจัย 1 ใน 3 ของทั้งหมด เช่นเดียวกับแบตเตอรี่ไฟฟ้า, 5G และการผลิตด้านนาโน

ที่จีนเก่งเร็วเพราะเรียนรู้จากชาติตะวันตกเร็ว

สถาบันวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences) ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยของรัฐบาล ถูกจัดอันดับที่ 1 หรือ 2 ของการคิดค้นเทคโนโลยี 44 ประเภท เช่น เทคโนโลยีการป้องกันประเทศ อวกาศ วิทยาการหุ่นยนต์ พลังงาน สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีชีวภาพ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) วัสดุขั้นสูง และเทคโนโลยีควอนตัม

มีข้อมูลว่า สาเหตุหนึ่งที่จีนพัฒนาเทคโนโลยีได้ก้าวกระโดด เพราะนักวิจัยของจีนได้รับการถ่ายทอดความรู้มาจากต่างประเทศ 1 ใน 5 ของนักวิจัยชั้นนำของจีน ได้รับการฝึกฝนมาจากประเทศกลุ่ม Five Eyes ทั้งสิ้น

ติดตามข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่นี่ : “mRNA” เทคโนโลยีอนาคต..ปั้นวัคซีนสู้มะเร็ง

“mRNA” เทคโนโลยีอนาคต..ปั้นวัคซีนสู้มะเร็ง

หลังประสบความสำเร็จจากการต่อสู้กับการระบาดใหญ่ของโควิด -19 เทคโนโลยี mRNA ก็กลายเป็นที่พูดถึงอย่างกว้างขวาง และล่าสุด อังกฤษก็ได้เริ่มแผนการท้าทายในการวิจัยวัคซีน mRNA เพื่อป้องกันมะเร็ง ร่วมกับไบโอเอ็นเทค (BioNTech) บริษัทยาของเยอรมนี

สตีฟ บาร์เคลย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและการดูแลสังคมของสหราชอาณาจักร บอกว่า ไบโอเอ็นเทคเป็นผู้นำโลกในเรื่องวัคซีนโควิด-19 และมีพันธสัญญาเหมือนกันกับอังกฤษในเรื่องความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ โดยทั้งสองประเทศจะร่วมมือกันตั้งแต่เดือน ก.ย.2566 เป็นต้นไป และนั่นหมายความว่าคนไข้มะเร็งกลุ่มแรกในอังกฤษ จะได้เข้าร่วมการทดลองและทดสอบในการรับการรักษาที่แม่นยำ มีความเฉพาะตัวและเจาะจง โดยเป็นวิธีการรักษาแบบใหม่ที่เปลี่ยนแปลงการรักษาทั้งมะเร็งที่เป็นอยู่และการป้องกันการกลับมาเป็นมะเร็งอีกครั้ง

mRNA ย่อมาจาก Messenger Ribonucleic Acid เป็นเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนรูปแบบใหม่ ที่ลงลึกถึงระดับโมเลกุล จากเดิมที่ใช้โปรตีนของไวรัส หรือใช้ไวรัสที่ถูกทำให้อ่อนแอฉีดเข้าไปในร่างกายเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา ซึ่งความร่วมมือระหว่างอังกฤษและเยอรมนีในครั้งนี้ เป็นการนำเอาเทคโนโลยีเดียวกันนี้มาทำการทดลองวัคซีนกับคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง โดยตั้งเป้าการรักษาในผู้ป่วยประมาณ 10,000 คน ภายในปี 2030

เทคโนโลยี

ศาสตราจารย์เอิซเลม ทูเรชี ผู้ร่วมก่อตั้งไบโอเอ็นเทค บอกว่า อังกฤษเป็นชาติแรกที่ลงนามในความร่วมมือนี้ ขณะที่ไบโอเอ็นเทคอยู่ระหว่างการทดลองวัคซีนป้องกันโรคมะเร็งหลายชนิดกับหลายชาติ แต่สำหรับอังกฤษ ถือเป็นประเทศที่อยู่ในจุดที่เหมาะสม เพราะมีประวัติและโครงสร้างพื้นฐานที่ยอดเยี่ยมเกี่ยวกับการวิจัยทางการแพทย์ โดยเฉพาะขีดความสามารถในการวิเคราะห์จีโนมซึ่งอังกฤษเป็นผู้นำทางด้านนี้มาก่อน

“คนไข้บางส่วนที่เข้าร่วมการทดลองจะเป็นคนไข้ที่เคยเป็นมะเร็งมาก่อนและได้รับการรักษาหายแล้ว และหวังว่า วัคซีนจะช่วยป้องกันไม่ให้พวกเขากลับมาเป็นมะเร็งอีก ส่วนคนไข้คนอื่นๆคือคนไข้ที่มีมะเร็งลุกลามและแพร่กระจาย โดยวัคซีนอาจช่วยลดการลุกลามและควบคุมมะเร็งได้” ทูเรชีบอก

การรักษาแบบ mRNA จะแตกต่างจากการรักษาด้วยเคมีบำบัด ที่สามารถโจมตีเซลล์ต่างๆจำนวนมากรวมถึงมะเร็ง แต่การรักษาแบบ mRNA จะเป็นการออกแบบมาเฉพาะบุคคล และนำรหัสพันธุกรรมจากมะเร็งที่เฉพาะเจาะจงมาใส่ในระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อให้สามารถโจมตีเฉพาะเนื้องอกได้

“แนวคิดนี้คือ การใช้คุณลักษณะทางโมเลกุลที่เฉพาะเจาะจงในมะเร็งแต่ละเซลล์ของผู้ป่วย เพื่อนำไปเข้ารหัสในวัคซีน mRNA เพื่อฝึกให้ระบบภูมิคุ้มกันโจมตี เหมือนกับการติดประกาศจับ หรือการให้เงินรางวัลนำจับ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเตรียมพร้อมและต่อสู้ เนื่องจากมะเร็งเป็นโรคที่ซับซ้อน คนไข้อาจจะต้องได้รับวัคซีนหลายโดสเพื่อทำให้ระบบภูมิคุ้มกันคอยระวังตัวอยู่ตลอดเวลา” ผู้ร่วมก่อตั้งไบโอเอ็นเทคอธิบาย

นักวิทยาศาสตร์ของไบโอเอ็นเทคบอกว่า แน่นอนที่การรักษาด้วยวิธีนี้จะมีราคาสูงขึ้น แต่ก็เชื่อว่า ระบบสาธารณสุขของสหราชอาณาจักรน่าจะสามารถรองรับภาระค่าใช้จ่ายนี้ได้ หากมีเหตุผลที่ชอบธรรม โดยเฉพาะสำหรับสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติ (National Health Service-NHS) ของสหราชอาณาจักร

ภายหลังข่าวความร่วมมือดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป สตีฟ บาร์เคลย์ รมว.สาธารณสุขและการดูแลสังคมของสหราชอาณาจักร ได้ออกมาให้ความเห็นว่า ในทันทีที่มีการตรวจพบมะเร็ง ต้องมั่นใจว่าสามารถใช้วิธีการรักษาที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมถึงมะเร็งตับอ่อน มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม สอดคล้องกับความเห็นขององค์กรวิจัยมะเร็งแห่งสหราชอาณาจักร (Cancer Research UK) ที่แสดงความยินดีกับข่าวนี้

โดย ดร.เอียน ฟอล์กส์ โฆษกขององค์กรวิจัยมะเร็งของสหราชอาณาจักร บอกว่า การวินิจฉัยและการรักษาที่ล่าช้าจะทำให้เจ้าหน้าที่ต้องทำงานเพิ่มขึ้น และอาจจะไม่สามารถหาเวลาที่ต้องใช้ในการจัดการทดลองทางการแพทย์ได้ ถ้ายังเป็นอย่างนี้ต่อไปก็จะทำให้กระบวนการหาวิธีการรักษาใหม่เกิดความล่าช้าลงไปอีก

“วัคซีน mRNA เป็นหนึ่งในการพัฒนางานวิจัยที่น่าตื่นเต้นที่สุดที่ออกมาในช่วงการระบาดใหญ่ และมีแววที่ชัดเจนว่า พวกมันอาจจะกลายเป็นทางเลือกในการรักษาโรคมะเร็งได้อย่างดี แต่ก็ยังคงต้องมีงานวิจัยเพิ่มเติมอีกมาก” ดร.ฟอล์กส์กล่าว.

อ่านเพิ่มเติมหรือติดตาม ได้ที่นี่ >>> Apple จดทะเบียนระบบปฏิบัติการ xrOS สำหรับแว่นตา AR

Apple จดทะเบียนระบบปฏิบัติการ xrOS สำหรับแว่นตา AR

ไม่นานมานี้มีข่าวว่า Apple จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าระบบปฏิบัติการสำหรับแว่นตา AR

ในชื่อว่า realityOS แต่ล่าสุด Bloomberg รายงานว่า Apple ได้จดทะเบียนอีกชื่อว่า xrOSสำหรับชื่อ XR นั้น สื่อต่างประเทศคาดว่าน่าจะมาจาก extended reality หรือการขยายไปสู่ AR และ VR รูปแบบการทำงานของแว่นตาจะมีความคล้ายกับ HoloLens ของ Microsoft ที่รองรับทั้ง Augmented Reality (AR) และ Virtual Reality (VR)

Augmented Reality (AR) – เห็นโลกจริงผสมดิจิทัล
Virtual Reality (VR) – โลกดิจิทัลอย่างเดียว
ตามรายงานก่อนหน้านี้ Apple จะออกแบบแอปหลายอย่างเพื่อแว่นตา AR โดย รวมถึงมี App Store เป็นของตัวเองเลยด้วย

Bloomberg รายงานเพิ่มเติมว่า Apple ใช้บริษัท Deep Dive LLC ในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า xrOS ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเพราะปกติ Apple ต้องการเก็บความลับเรื่องผลิตภัณฑ์อยู่แล้ว