การรถไฟฯ เปิดรับสมัคร “นักเรียนวิศวกรรมรถไฟ” ปี 66 เช็กรายละเอียดได้ที่นี่

การรถไฟฯ เปิดรับสมัคร “นักเรียนวิศวกรรมรถไฟ” ประจำปีการศึกษา 2566 สมัครสอบได้ผ่านเว็บไซต์ถึง 31 มี.ค.66 เช็กเงื่อนไข – คุณสมบัติได้ที่นี่

การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. เปิดรับสมัคร “นักเรียนวิศวกรรมรถไฟ” ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวน 180 อัตรา ในระดับการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. หลักสูตร 3 ปี) และมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6 ทุกสายการเรียน) โดยสมัครสอบได้ถึง 31 มีนาคม 2566 ผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น

นายเอกรัช ศรีอาระยันพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนการผลิตบุคลากรคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ รองรับการเติบโตของกิจการการรถไฟฯ ในอนาคต “โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ” ได้ประกาศเปิดรับสมัคร “นักเรียนวิศวกรรมรถไฟ” ประจำปีการศึกษา 2566 ใน 5 สาขาวิชา รวม 180 อัตรา

ข่าวการศึกษาวันนี้

ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม

  • สาขาวิชาช่างเครื่องกล (จำนวน 40 อัตรา)
  • สาขาวิชาช่างเทคนิคไฟฟ้ารถจักรและล้อเลื่อน (จำนวน 35 อัตรา)
  • สาขาวิชาช่างซ่อมบำรุงระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมรถไฟฟ้า (จำนวน 35 อัตรา)
  • สาขาวิขาช่างโยธา (จำนวน 35 อัตรา)ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ

สาขาวิชาการจัดการเดินรถ (จำนวน 35 อัตรา)

ทั้งนี้ผู้สนใจเข้าสมัครสอบต้องเป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช. หลักสูตร 3 ปี) หรือบุคคลที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ในประเภทวิชาตามข้อกำหนดของแต่ละสาขาที่เปิดรับสมัคร เป็นเพศชาย สัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์นับถึงวันที่ยื่นใบสมัคร และมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขอื่นๆ ที่กำหนด

โดยขั้นตอนการสมัครสอบให้เข้าในเว็บไซต์เลือกหัวข้อ “ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ” จากนั้นเลือกหัวข้อ “กรอกใบสมัคร” เลือก “รับสมัครนักเรียนวิศวกรรมรถไฟ รุ่น 64” และเลือกสาขาวิชาที่ต้องการ เพื่อลงทะเบียน กรอกข้อมูลของผู้สมัครให้ถูกต้องครบถ้วน จากนั้นรอขั้นตอนการอนุมัติ

ซึ่งผู้สมัครสามารถติดตามสถานะได้ในหัวข้อ “สถานการณ์สมัคร” และเมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว จึงชำระเงินค่าธรรมเนียมสมัครสอบ 300 บาทต่อคน ผ่านทางโมบายแบงกิ้ง หรือ คิวอาร์ พร้อมเพย์ เพื่อรอการประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าสอบและเลขประจำตัวสอบอีกครั้ง

นายเอกรัช กล่าวตอนท้ายว่า ผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เทียบเท่าหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยไม่มีข้อผูกพันการบรรจุเข้าทำงานกับการรถไฟฯ ซึ่งสามารถติดตามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ “โรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ” โทรศัพท์หมายเลข 0-2621-8701 ต่อ 8215756 , 8215757 แนะนำข่าวเพิ่มเติม>>> “ประวิต” เจรจา คปร.ขอคืนอัตราผอ.รร.ขนาดเล็ก พร้อมมองแนวทางปรับเกณฑ์การสอบบรรจุครูยากลำบากใหม่

“ประวิต” เจรจา คปร.ขอคืนอัตราผอ.รร.ขนาดเล็ก พร้อมมองแนวทางปรับเกณฑ์การสอบบรรจุครูยากลำบากใหม่

รศ.ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ก.ค.ศ.)

ประวิต

เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางสำนักงาน ก.ค.ศ.กำลังดำเนินการเกี่ยวกับอัตรากำลังครูและบุคลากรทางการศึกษา 2 เรื่องใหญ่ คือ เรื่องแรก สืบเนื่องจากปัจจุบันมีโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียนต่ำกว่า 121 คน ประมาณ 15,000 โรง หรือ 51% ของจำนวนโรงเรียนทั้งหมด ซึ่งปัญหา คือ มีโรงเรียนขนาดเล็กเหล่านี้จำนวนหนึ่งไม่มีผู้อำนวยการโรงเรียน เพราะเมื่อผู้อำนวยการโรงเรียนเกษียณอายุราชการ หรือย้ายออกไปคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.)ไม่คืนอัตราให้ ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการแก้ปัญหาโดยการแต่งตั้งรักษาราชการ ซึ่งไม่เป็นผลดีกับเด็ก ดังนั้น ก.ค.ศ.จึงได้ไปเจรจากับ คปร. เพื่อขอให้ผ่อนคลาย และให้สามารถบรรจุผู้อำนวยการในโรงเรียนที่มีนักเรียน 60-120 คนได้ โดย ก.ค.ศ.จะเกลี่ยอัตราครูที่เกินในโรงเรียนขนาดใหญ่มาเปลี่ยนเป็นผู้อำนวยการเพื่อบรรจุในโรงเรียนเหล่านั้น

โดยไม่ใช่การเพิ่มตำแหน่ง หรือเพิ่มเงิน แต่เป็นการบริหารตำแหน่ง เพื่อให้โรงเรียนมีผู้บริหารโรงเรียน “จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและดูการปฏิบัติงานจริงของครูในพื้นที่ โดยเน้นไปที่โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่ยากลำบาก ทำให้เห็นว่าโรงเรียนขนาดเล็กจำนวนมากไม่มีผู้อำนวยการโรงเรียน และก็มีไม่น้อยที่ให้ครูในโรงเรียนทำหน้าที่รักษาราชการผู้อำนวยการโรงเรียน หรืออาจจะให้ผู้อำนวยการโรงเรียนอื่นมารักษาการอีกโรงเรียนด้วย ซึ่งวิธีการนี้จะส่งผลต่อคุณภาพของเด็กอย่างมาก ประกอบกับ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ก็ได้รับทราบปัญหานี้แล้ว ดังนั้นเราต้องดูแลโรงเรียนกลุ่มดังกล่าวให้สามารถบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพได้ เพราะการควบรวมโรงเรียนก็มีปัญหาอุปสรรคอยู่มาก และที่ผ่านมาเราอาจจะมองในมิติทางเศรษฐศาสตร์ มองเรื่องงบประมาณเป็นหลักจนลืมเรื่องของคุณภาพไป แต่เป้าหมายก็ไม่ใช่ปล่อยปัญหาทิ้งไป ผมจึงไปเจรจากับ คปร.โดยพยายามชี้ให้เห็นสภาพของปัญหา ซึ่งเข้าใจว่า คปร.จะนำเรื่องเข้าพิจารณาในเร็ว ๆนี้ เชื่อว่าเราน่าจะมีข่าวดีเรื่องนี้เช่นกัน”เลขาธิการ ก.ค.ศ.กล่าว

อัพเดทข่าว เพิ่มเติม : ตลกร้าย “ทวงคืนสภาครู”

ตลกร้าย “ทวงคืนสภาครู”

ตลกร้าย “ทวงคืนสภาครู” ครูลำปาง นัดแต่งชุดดำคัดค้าน “ร่างพ.ร.บ.การศึกษา”

 

การศึกษา

 

“ทวงคืนสภาครู” ครูลำปาง 13 อำเภอรวมพลัง คัดค้าน ร่างพ.ร.บ.การศึกษา ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา 24-25 ม.ค. นี้ ชี้ เป็นสภาวิชาชีพเดียวในโลกที่ไม่มีตัวแทนครูแม้แต่คนเดียว ฝ่ายหนุน กดดับสมาชิกเข้าร่วมประชุม

กลายเป็นกฏหมายที่ใช้เวลายาวนานถึง 5 ปี ของการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ตามคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว เข้าสู่วาระการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เมื่อวันที่ 10-11 มกราคม 2566 ล่าสุด นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา แจ้งให้สมาชิกรัฐสภาทราบว่า จะนำ “ร่างพ.ร.บ.การศึกษา” ฉบับใหม่ กลับเข้าสู่การประชุมร่วมของรัฐสภา อีกครั้งระหว่างวัที่ 24-25 มกราคม 2566 นี้

เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจาก นายชินวรณ์ บุญยเกียรติ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้รับหนังสือจากนายวิสิทธิ์ ใจเถิง นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย(ส.บ.ม.ท.) ขอสนับสนุน ร่างพ.ร.บ.การศึกษา นั้น

“ผมยอมรับว่าไม่มีกฎหมายฉบับไหนสมบูรณ์ที่สุด แต่เราจะได้สิ่งที่ดีกว่าแน่นอน จึงขอเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภามาประชุม และขอให้สื่อมวลชนช่วยเปิดเผยชื่อสม

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม คลิ๊กเลย >> “ตรีนุช” มั่นใจ PA Support Team สร้างความเข้าใจเกณฑ์ PA ได้ครูคุณภาพ

“ตรีนุช” มั่นใจ PA Support Team สร้างความเข้าใจเกณฑ์ PA ได้ครูคุณภาพ

ที่โรงแรมบางกอกพาเลส กรุงเทพฯ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.)

ตรีนุช-มั่นใจ

กล่าวตอนหนึ่งในการมอบนโยบายให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมผู้นำองค์ความรู้สู่การเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารงานบุคคล ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (PA Support Team) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) รุ่นที่ 7 ว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เพิ่มความเข้มข้นในการยกระดับคุณภาพทางการศึกษา ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพจากครูผู้สอนมืออาชีพ ได้มีการปรับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ใหม่) หรือเกณฑ์ PA มีการนำระบบดิจิทัลแพลตฟอร์มมาประยุกต์ใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งไม่เพียงมีความทันสมัย รวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้แล้ว ยังเป็นการอำนวยความสะดวก ลดขั้นตอน ลดภาระ ลดเวลา และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งหลักเกณฑ์ใหม่นี้จะเน้นที่ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามบริบทของผู้เรียน จากการวางแผนการเรียนการสอน และการสอนจริงในชั้นเรียน มากกว่าผลลัพธ์จากการวัดและประเมินผลด้านวิชาการ อีกทั้ง ยังสามารถเก็บเป็นฐานข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาและประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ได้อีกด้วย “ด้วยจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีอยู่เป็นจำนวนมากทั่วประเทศ การสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจที่ตรงกัน ทั้งความเข้าใจในเชิงนโยบาย และแนวทางการปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งทุกท่านที่ผ่านการอบรมฯ จะเป็นตัวแทนในการให้คำอธิบาย เพื่อลดข้อกังวล ข้อสงสัย รวมถึงผลักดันการขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิบัติที่ชัดเจน ในโอกาสนี้ ดิฉันขอขอบคุณ สพฐ.และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ที่ได้บูรณาการความร่วมมือกันอย่างเป็นเอกภาพ ในการสร้าง PA Support Team จำนวน 2,465 คน เพื่อเป็นตัวแทนผู้นำข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จาก 245 เขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ในทุกตำแหน่ง ทุกสายงาน จำแนกเป็น จากสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) จำนวน 183 เขต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่กาศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) 62 เขต และสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดย PA Support Team รุ่นที่ 7 นี้ มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 175 คน ดิฉัน เชื่อมั่นว่าทุกท่านจะเป็นข้อต่อสำคัญในการพลิกเปลี่ยนการบริหารจัดการศึกษาของกระทรวงฯ ให้เดินหน้าได้อย่างแข็งแกร่งและสามารถดำเนินการขยายผลเป็นที่ปรึกษา และทีมเคลื่อนที่เร็ว ในการแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานจริงให้แก่ครูในสังกัด เพื่อให้ทุกฝ่ายได้คลายความกังวล และมั่นใจว่า ระบบการประเมินแบบใหม่ ว PA นี้ จะเป็นเครื่องมือคุณภาพ นำไปสู่การพัฒนาและสร้างคุณครูคุณภาพ เพื่อให้เด็กนักเรียน และเยาวชนของเราได้รับการศึกษาอย่างดีที่สุด” น.ส.ตรีนุช กล่าว