อังกฤษเผยอัตราว่างงานเพิ่ม 3.7% ขณะการขึ้นค่าจ้างชะลอตัวลง

อังกฤษเผยอัตราว่างงานเพิ่ม 3.7% ขณะการขึ้นค่าจ้างชะลอตัวลง

สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เปิดเผยในวันนี้ (14 มี.ค.) ว่า อัตราการว่างงานของอังกฤษเพิ่มขึ้น 3.7% ในช่วงเดือนพ.ย.-ม.ค. ดีกว่าคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์จากสำนักข่าวรอยเตอร์ที่คาดว่าจะเพิ่มสู่ระดับ 3.8%

ข้อมูลระบุว่า การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างขั้นพื้นฐานที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จับตามองอย่างใกล้ชิด เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจว่าจะระงับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อใด ชะลอตัวลงในช่วงเดือนพ.ย.-ม.ค.

เศรษฐศาสตร์

ONS ระบุว่า ค่าจ้างที่ไม่รวมเงินโบนัสเพิ่มขึ้น 6.5% ลดลงจาก 6.7% ในช่วงเดือนต.ค.-ธ.ค. ขณะที่ ค่าจ้างทั้งหมดในเดือนพ.ย.-ม.ค. เพิ่มขึ้น 5.7% เมื่อเทียบรายปี

ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า ค่าจ้างขั้นพื้นฐานและรายรับทั้งหมดจะเพิ่มขึ้น 6.6% และ 5.7% ตามลำดับ

ติดตามข่าวสารต่างๆได้ที่นี่ >>> การขุด cryptocurrency : กับอนาคตของต้นทุน รายได้

การขุด cryptocurrency : กับอนาคตของต้นทุน รายได้

เศรษฐศาสตร์การขุด cryptocurrency : กับอนาคตของต้นทุน รายได้ และแนวโน้มของตลาด

สำรวจเศรษฐศาสตร์ของการขุด cryptocurrency และความท้าทายและโอกาสที่มีอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยในอุตสาหกรรมเหมืองขุดคริปโต ซึ่งหมายถึงกระบวนการตรวจสอบและเพิ่มธุรกรรมใหม่ไปยังเครือข่ายบล็อกเชน

ขณะที่ในกรณีของ Bitcoin (BTC) ที่มีราคา ณ ปัจจุบัน เวลา 16.15 น. อยู่ที่ $24,617.91 ต่อเหรียญหรือเพิ่มขึ้น 0.19% ขณะที่สกุลเงินดิจิทัลอื่นๆ ในเศรษฐศาสตร์ของการขุด หมายถึงสิ่งจูงใจทางเศรษฐกิจและต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการขุด เช่นเดียวกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง

ในรายงานของ cointelegraph ระบุว่าเศรษฐศาสตร์ของการขุด crypto นั้นขับเคลื่อนด้วยปัจจัยหลายประการ รวมถึงราคาของ cryptocurrency ซึ่งมีความยากในการขุดทั้ง ต้นทุนฮาร์ดแวร์ ค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน รางวัลบล็อก และค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม โดยในบทความนี้จะอธิบายเศรษฐศาสตร์ของการขุด รวมถึงต้นทุน รายได้ และแนวโน้มของตลาด

เศรษฐศาสตร์

ค่าใช้จ่ายในการขุด Cryptocurrency

ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขุด cryptocurrency สามารถแบ่งออกเป็นหลายประเภท ได้แก่ :

ต้นทุนฮาร์ดแวร์ : คือราคาของวงจรรวมเฉพาะแอปพลิเคชัน (ASICs) เฉพาะอาจมีผลกระทบอย่างมากต่อความสามารถในการทำกำไรของการขุด

ค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน : เนื่องจากการขุดใช้ไฟฟ้าในปริมาณมากเพื่อเดินเครื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การใช้พลังงานจึงเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายสูงสุดที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นความสามารถในการทำกำไรของการขุด อาจได้รับผลกระทบอย่างมากจากต้นทุนพลังงานในพื้นที่เฉพาะ

ต้นทุนการทำความเย็น: ความร้อนที่ผลิตโดยอุปกรณ์การทำเหมืองจะต้องมีการกระจายเพื่อให้เครื่องจักรอยู่ในสภาพดี ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการทำความเย็นอาจสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ร้อนหรือในการดำเนินการขุดขนาดใหญ่

ค่าบำรุงรักษาและซ่อมแซม : เพื่อให้อุปกรณ์การทำเหมืองทำงานได้ดีที่สุด จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาและซ่อมแซมอย่างต่อเนื่อง และค่าใช้จ่ายเหล่านี้อาจเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม: นักขุดอาจได้รับค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมนอกเหนือจากรางวัลบล็อกสำหรับการประมวลผลธุรกรรมเครือข่าย ความสามารถในการทำกำไรของการขุดอาจได้รับผลกระทบจากระดับค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมเครือข่ายและองค์ประกอบอื่นๆ

รายได้จากการขุด Cryptocurrency

จำนวนของสกุลเงินดิจิทัลที่นักขุดสามารถสร้างได้ในช่วงเวลาที่กำหนด มักจะใช้เพื่อกำหนดรายได้การขุดที่นักขุดสร้างขึ้น รายได้ถูกกำหนดโดยการคูณมูลค่าของสกุลเงินดิจิทัลที่ขุดได้ด้วยราคาตลาดปัจจุบัน โดยหากพิจารณาสถานการณ์ที่นักขุดใช้อุปกรณ์ขุดที่สามารถผลิต 1 BTC ทุกๆ 10 วัน กำไรของนักขุดสำหรับแต่ละบล็อกที่ผลิตได้จะเป็นดังนี้โดยหากราคาตลาดของ BTC อยู่ที่ 50,000 ดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม จำนวนรายได้จากการขุด cryptocurrencies จะผันผวนตามตัวแปรหลายอย่าง เช่น ราคาที่ cryptocurrency กำลังซื้อขายในตลาด ความยากของกระบวนการขุด ราคาของพลังงาน และประสิทธิภาพของการขุด อุปกรณ์ที่ใช้.

ตัวอย่างเช่น ในยุคแรกๆ ของการขุด Bitcoin เป็นไปได้ที่จะสร้างรายได้จำนวนมากด้วยฮาร์ดแวร์ที่ค่อนข้างเรียบง่าย อย่างไรก็ตาม รายได้ต่อหน่วยของกำลังคอมพิวเตอร์ลดลงเนื่องจากความซับซ้อนในการขุดและจำนวนคนงานเหมืองเพิ่มขึ้น

แนวโน้มตลาดการขุด Cryptocurrency ในอนาคต

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ตลาดการขุด cryptocurrency มีการเติบโตอย่างมาก และได้กลายเป็นส่วนที่สำคัญมากขึ้นของระบบนิเวศ cryptocurrency โดยรวม แนวโน้มสำคัญบางประการในตลาดการขุด crypto ได้แก่ : การแข่งขันที่เพิ่มขึ้น โดยการแข่งขันเพิ่มขึ้นเมื่อมีนักขุดจำนวนมากเข้าสู่ตลาด ทำให้มีความท้าทายมากขึ้นและมีศักยภาพน้อยลงสำหรับนักขุดแต่ละคนในการสร้างรายได้ การดำเนินการขุดขนาดใหญ่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสามารถใช้ประโยชน์จากการประหยัดจากขนาดเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลกำไร

ขณะที่ความต้องการของฮาร์ดแวร์เฉพาะ : ASIC เป็นตัวอย่างของฮาร์ดแวร์สำหรับการขุดโดยเฉพาะทางที่นักขุดจำนวนมากใช้เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ทำขึ้นเพื่อขุด cryptocurrency โดยเฉพาะ นอกจากนี้การเปรียบเทียบอุปกรณ์เหล่านี้กับ CPU และ GPU ทั่วไปสามารถแสดงให้เห็นความแตกต่างของการปรับปรุงประสิทธิภาพได้อย่างมาก

ความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม : การใช้พลังงานจำนวนมากที่จำเป็นสำหรับการขุด cryptocurrency ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นผลให้มีความสนใจเพิ่มขึ้นในแนวทางทางเลือกสำหรับการขุด เช่น อัลกอริธึมการพิสูจน์การเดิมพัน (PoS) ซึ่งใช้พลังงานน้อยกว่าอัลกอริทึมการพิสูจน์การทำงาน (PoW) ที่ใช้โดย Bitcoin และอีกมากมาย cryptocurrencies อื่น ๆ

การพัฒนาด้านกฎระเบียบ : รัฐบาลจากทั่วโลกเริ่มให้ความสนใจในการควบคุมตลาด cryptocurrency มากขึ้นในขณะที่มันเติบโตขึ้น ในขณะที่บางประเทศยอมรับการขุด cryptocurrency และสร้างกฎเกณฑ์ที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ขุด แต่ประเทศอื่น ๆ กลับมีทัศนคติที่ต่อต้านมากขึ้น จากความไม่สมดุลของปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้ ทำให้เกิดการลักลอบใช้ไฟฟ้าและนำไปสู่การห้ามธุรกิจขุดเหมืองคริปโตมากขึ้น

ติดตามข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่นี่ : ตลาดหุ้นเอเชียเปิดบวก นลท.รอผลประชุมแบงก์ชาติออสเตรเลีย

ตลาดหุ้นเอเชียเปิดบวก นลท.รอผลประชุมแบงก์ชาติออสเตรเลีย

ตลาดหุ้นเอเชียเปิดบวกในวันนี้ ขณะที่ นักลงทุนรอคอยการตัดสินใจเรื่องอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA)

ตลาดหุ้นเอเชียเปิดบวก-นลท.

โดยนักเศรษฐศาสตร์ในผลสำรวจที่จัดทำโดยสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ว่า RBA จะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25%

ทั้งนี้ ดัชนีนิกเกอิเปิดภาคเช้าที่ระดับ 27,744.90 จุด เพิ่มขึ้น 51.25 จุด หรือ +0.19%, ดัชนีฮั่งเส็งเปิดภาคเช้าที่ระดับ 21,288.39 จุด เพิ่มขึ้น 66.23 จุด หรือ +0.31% และดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตเปิดภาคเช้าที่ระดับ 3,245.23 จุด เพิ่มขึ้น 6.53 จุด หรือ +0.20%

สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) วางแผนที่จะยื่นเสนอชื่อผู้ว่าการ BOJ คนใหม่ต่อรัฐสภาสัปดาห์หน้า

บริษัทซอฟต์แบงก์ กรุ๊ป และนินเทนโดของญี่ปุ่นเตรียมรายงานผลประกอบการไตรมาส 3 ในวันนี้ ขณะที่ บริษัทเอสเค อินโนเวชันและเคบี ไฟแนนเชียล กรุ๊ปของเกาหลีใต้จะเปิดเผยผลประกอบการรายไตรมาสเช่นกัน ด้านบริษัทยัม ไชน่าจะเปิดเผยผลประกอบการไตรมาส 4 และตลอดทั้งปี

อัพเดทข่าว เพิ่มเติม : เศรษฐศาสตร์ที่ดีควรจะเป็นอย่างไร | วิทยากร เชียงกูล

เศรษฐศาสตร์ที่ดีควรจะเป็นอย่างไร | วิทยากร เชียงกูล

เศรษฐศาสตร์ – การศึกษาเรื่องเศรษฐกิจ (กิจกรรมการผลิต/การกระจาย/การบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ)

เป็นสาขาวิชาทางเทคนิคในแง่หนึ่ง แต่ความจริงแล้วก็เป็นวิชาทางสังคมที่ขึ้นอยู่กับอัตวิสัย, ค่านิยมของคน และการเมืองอยู่มาก

ข่าวเศรษฐศาสตร์แนะนำ

เศรษฐศาสตร์แนวทุนนิยมอุตสาหกรรม ที่เน้นให้เอกชนมุ่งผลิตและบริโภคเพื่อกำไร/ประโยชน์สูงสุด เป็นเพียงเศรษฐศาสตร์สำนักหนึ่ง การเน้นแต่การผลิตให้ได้มากที่สุด แต่ไม่สนใจการกระจายผลผลิตที่ทั่วถึง เป็นธรรม ทำให้เศรษฐศาสตร์สำนักนี้บิดเบือนวิชาการเพื่อผลประโยชน์นายทุนชนชั้นสูงมากกว่าคนส่วนใหญ่

เศรษฐศาสตร์แบบองค์รวม มองว่าการทำงานของมนุษย์ คือพลังอย่างเดียวที่เพิ่มมูลค่าให้แก่ทรัพยากร (รวมทั้งพลังงาน) ที่เราเก็บเกี่ยวมาจากธรรมชาติ สิ่งที่เรียกว่างานนั้นมีทั้งงานที่ได้ค่าจ้างตอบแทน, งานในบ้านที่ไม่ได้ค่าตอบแทน และงานบริหารจัดการ งานธุรการต่างๆ

แม้มนุษย์ในยุคปัจจุบันจะมีเครื่องจักรพลังงาน หุ่นยนต์ คอมพิวเตอร์ เครื่องไม้เครื่องมือ ช่วยให้เราทำงานได้ผลผลิต (ต่อแรงงาน) สูงขึ้น แต่การผลิตทุกอย่างต้องอาศัยแรงงานคน เพื่อทำเครื่องมือเหล่านั้นทำงานได้ แรงงานคือผู้เพิ่มผลผลิต การเป็นเจ้าของเครื่องมือเฉยๆ (เจ้าของทุน) ไม่ได้ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นมาได้

ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมอุตสาหกรรม งานส่วนใหญ่คือการจ้างงาน ซึ่งหมายถึงการทำงานให้นายทุนโดยได้ค่าจ้างเงินเดือน ในระบบนี้นายจ้างพยายามลดต้นทุนค่าจ้างแรงงาน และหาวิธีการทำให้ลูกจ้างทำงานการผลิตได้ดีที่สุด เพื่อนายจ้างจะค้าขายสินค้าในราคาสูงเพื่อให้ได้กำไรมากที่สุด

ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเช่นนี้ ทำให้เกิดความขัดแย้งทางด้านผลประโยชน์ระหว่างคนงานกับนายทุน แต่ทั้ง 2 ฝ่ายต่างจำเป็นต้องร่วมมือกันและพึ่งพากันและกัน ต้องต่อรองและประนีประนอมตกลงกันไป ประเทศที่คนงานต่อสู้เรียกร้องมานาน เช่น ในประเทศอุตสาหกรรม คนงานมักต่อรองได้มากกว่าในประเทศตลาดเกิดใหม่ และประเทศรายได้ต่ำ

การทำงานที่ไม่ได้รับค่าจ้างสำคัญเช่นเดียวกัน การทำงานภายในบ้าน เช่น การทำอาหาร ดูแลรักษาความสะอาดบ้าน การเลี้ยงดูเด็ก คนชรา คนป่วย ฯลฯ เป็นงานที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ และถือว่ามีส่วนช่วยเพิ่มผลผลิตทางอ้อม

ครอบครัวส่วนใหญ่มักจะใช้แรงงานผู้หญิงทำงานแม่บ้าน โดยไม่มีการคิดค่าจ้างให้ ไม่ได้คิดรวมอยู่ในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และสังคมทุนนิยมไม่ให้คุณค่าต่อคนที่ทำงานโดยไม่ได้ค่าจ้าง

ระบบเศรษฐกิจที่ดีกว่าควรคำนึงถึงความสำคัญของงานเหล่านี้ด้วย เพราะเป็นการงานที่จำเป็นที่ทำให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่และสร้างลูกหลานต่อไปได้ ถ้าสมาชิกครอบครัวไม่ทำงานบ้านและงานในกิจวัตรประจำวันเอง ก็ต้องจ้างคนอื่นทำอย่างในประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมหรือในครอบครัวคนรวย คนชั้นกลาง

ระบบทุนนิยมเป็นระบบที่มีปัญหาว่าจะต้องเติบโต แบบสร้างความขัดแย้ง และทำลายตนเองไปด้วย นายทุนมีแรงจูงใจจากความโลภต้องการกำไรมากที่สุด และถูกผลักดันด้วยความกลัว ว่าธุรกิจของพวกเขาจะถูกโค่นล้มโดยบริษัทธุรกิจอื่นที่แข่งขันเพื่อหากำไรสูงสุดได้มากกว่า

การแข่งขันกันในแนวนี้คือ ตัวการสร้างวิกฤติความเหลื่อมล้ำต่ำสูง ความไม่สมดุลทั้งทางสังคมและระบบนิเวศ

เศรษฐศาสตร์แนวอนุรักษ์ระบบนิเวศฉลาดกว่าเศรษฐศาสตร์แบบทุนนิยมตรงที่มีความเข้าใจว่าเงื่อนไขของสภาพแวดล้อมทางธรรมชาตินั้น เช่น อากาศบริสุทธิ์ ภูเขาป่าไม้ ทะเล แม่น้ำ ฯลฯ สำคัญต่อความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของมนุษย์เราอย่างจำเป็นมาก

ธรรมชาติยังเป็นแหล่งวัตถุดิบและพลังงานในการผลิตสินค้าและบริการมาสนองความต้องการของมนุษย์เรา แร่ธาตุ พลังงานจากน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหินนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างมีขีดจำกัด ถูกใช้แล้วหมดไป โดยไม่อาจจะผลิตทดแทนขึ้นได้

ทรัพยากรธรรมชาติบางอย่างเช่น ป่าไม้ แหล่งน้ำจืด ปลาในทะเลอาจผลิตทดแทนขึ้นมาใหม่ได้ แต่มีเงื่อนไขคือมนุษย์ต้องรู้จักใช้ในอัตราที่ต่ำกว่าอัตราในการผลิตทดแทนขึ้นใหม่โดยธรรมชาติ

ถ้าเราใช้ทรัพยากรเหล่านี้ในอัตราสูงกว่าอัตราการผลิตทดแทนโดยธรรมชาติก็จะมีปัญหาขาดแคลน สิ่งมีชีวิตบางอย่างสูญพันธุ์ไป ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง เป็นผลเสียต่อระบบนิเวศทั้งหมด

ปัญหาการปล่อยสารพิษขึ้นไปในอากาศ ดินและน้ำ จากโรงงานอุตสาหกรรม การขนส่ง การผลิต การบริโภค การเผาไหม้ กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ เพิ่มอันตรายในเรื่องสุขภาพ ภัยธรรมชาติ, ผลผลิตการเกษตรลดลง เนื่องจากการปล่อยสารพิษมากทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (อุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยสูงขึ้น) ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (เกิดความผันผวน เช่น แล้ง น้ำท่วม ภัยธรรมชาติอื่นๆ)

การพัฒนาเศรษฐกิจแนวที่ดีกว่าทุนนิยมคือ การพัฒนาแนวเศรษฐศาสตร์ระบบนิเวศ ที่คำนึงถึงต้นทุนทางธรรมชาติและต้นทุนสังคมด้วย ไม่ใช่คิดเฉพาะต้นทุนส่วนตัวที่ธุรกิจเอกชนลงไป

ระบบทุนนิยมอุตสาหกรรมที่เน้นการเจริญเติบโต ที่ทั้งนักธุรกิจและรัฐบาลคิดแต่ต้นทุนและกำไรส่วนบุคคล โดยไม่สนใจปัญหาสภาพแวดล้อมนั้น เป็นระบบที่ขัดแย้งกับความเป็นจริงของธรรมชาติที่มีทรัพยากรที่ขีดจำกัดที่จะต้องใช้สอยอย่างระมัดระวัง

ถ้ามนุษย์จะก้าวข้ามวิกฤติทั้งทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมในโลกปัจจุบัน และอยู่รอดในอนาคตได้ มนุษย์จะต้องรู้จักปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตแบบใหม่ ที่ตระหนักถึงข้อจำกัดของระบบนิเวศอย่างแท้จริง

ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมอุตสาหกรรม ที่อ้างว่าเป็นระบบตลาดเสรีนั้น ความจริงคือ ตลาดกึ่งผูกขาดหรือตลาดที่ไม่มีการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรมจริง

คนทั่วไปไม่รู้ข้อมูลข่าวสารอย่างเท่าเทียมกัน คนจนกว่า การศึกษาต่ำกว่ามีจำนวนมาก มีการรวมกลุ่ม เช่น สหภาพแรงงาน สมาคมอาชีพ น้อยกว่า ทำให้พวกเขาเสียเปรียบแข่งขันต่อรองสู้กับคนที่รวยกว่า การศึกษาสูงกว่าที่พวกเขารวมกลุ่มได้ดีกว่าไม่ได้

ในโลกที่เป็นจริงกำลังมีปัญหา ประชาชนไม่ได้เสรีและไม่ได้รับความเป็นธรรมจริง ประชาชนต้องคิดและหาทางสร้างระบบเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ เช่น สังคมนิยมประชาธิปไตย – ระบบผสมระหว่างทุนนิยมที่มีการแข่งขันกับระบบสหกรณ์ผู้ผลิตผู้บริโภค

หรือระบบที่ประชาชน ชุมชน องค์กร ประชาชน เข้าไปเป็นเจ้าของทรัพย์สินส่วนรวมและบริษัทโรงงานต่างๆ เพิ่มขึ้น เน้นการพัฒนาแนวเศรษฐศาสตร์เชิงระบบนิเวศเพิ่มขึ้น. ข่าวเศรษฐศาสตร์เพิ่มเติม>>> “นักวิชาการ” หวั่นขึ้นค่าแรงแซงเศรษฐกิจ ห่วง “จีดีพี” โตช้าสร้างจุดเสี่ยง

“นักวิชาการ” หวั่นขึ้นค่าแรงแซงเศรษฐกิจ ห่วง “จีดีพี” โตช้าสร้างจุดเสี่ยง

นักวิชาการ ห่วงนโยบายขยับค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท ภายในปี 2570 ต้องขึ้นปีละ 12.7% หากเศรษฐกิจยังโตช้าอาจกลายเป็นจุดอันตรายเศรษฐกิจไทย

นโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเรียกได้ว่าเป็นท่าถนัดของนักการเมืองที่นำมาใช้หาเสียงเลือกตั้งเป็นประจำทุกครั้ง เพราะสามารถเรียกคะแนนเสียงให้ตัวเองได้อย่างดี ซึ่งการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปี 2566 ก็เริ่มมีนักการเมืองนำนโยบายนี้มาหาเสียงกันบ้างแล้ว โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา พรรคเพื่อไทยประกาศนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 600 บาท ภายในปี 2570

ข่าวเศรษฐศาสตร์

อย่างไรก็ตามมุมนักเศรษฐศาสตร์มีความเห็นตรงกันว่า ค่าแรงที่เพิ่มขึ้นต้องมาพร้อมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพราะถ้าเศรษฐกิจยังโตช้าจะถือเป็นจุดอันตรายทางเศรษฐกิจแน่นอน

นางสาวกิริฎา เภาพิจิตร ผู้อำนวยการวิจัย นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการพัฒนา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า ในทางเศรษฐศาสตร์มองการขึ้นค่าแรงที่วันละ 600 บาท ในระยะ 4ปี เป็นไปได้ยาก เพราะไม่ได้ขึ้นเฉพาะค่าแรงขั้นต่ำเท่า แต่ค่าแรงอาจต้องถูกยกขึ้นทั้งแผง สะท้อนสกิลของแต่ละอาชีพ

อีกทั้งการปรับขึ้นค่าแรง อาจเป็นต้นทุนต่อผู้ประกอบการค่อนข้างมาก โดยเฉพาะเอสเอ็มอีทำให้ภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น จากเดิมที่เจอปัญหาสภาพคล่องในช่วงโควิด-19 ดังนั้นอาจกระทบเอสเอ็มอีกลุ่มเปราะบางจนลามถึงการจ้างงาน และอาจเห็นเอสเอ็มอีปิดกิจการมากขึ้นซึ่งยังไม่รวมผลกระทบต่อเงินเฟ้อที่เร่งขึ้น ดังนั้นการคาดหวังเห็นเงินเฟ้อระดับ 2.5%ในปีหน้า ที่ค่าแรงเริ่มขยับถือว่ายาก

“ทางเศรษฐศาสตร์มองการขึ้นไปสู่ 600 บาท ใน 4 ปี เป็นไปได้ยาก แต่ทางการเมืองก็ไม่แน่ ซึ่งผลกระทบจากขึ้นค่าแรง ด้านแรกกระทบเงินเฟ้อขึ้นแน่นอน และผลที่กระทบเพิ่ม คือ ภาระของเอสเอ็มอี ที่จะมีปัญหาการจ้างงานมากขึ้น และอาจเห็นเอสเอ็มอีล้มตายเพิ่ม ท้ายที่สุดจะวนกลับมาสู่ปัญหาการจ้างงาน และการขึ้นค่าแรงต้องมาควบคู่การเพิ่มประสิทธิภาพแรงงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ง่ายๆ”